บทความ
หน้าแรก / ข่าวสารและบทความ / บทความ / Rack Supported Building | ใช้ชั้นวางสินค้า (Storage Rack) เป็นโครงสร้างอาคารจัดเก็บ

Rack Supported Building | ใช้ชั้นวางสินค้า (Storage Rack) เป็นโครงสร้างอาคารจัดเก็บ

18 พ.ค. 65
Rack Supported Building (RSB) คือการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างชั้นวางสินค้า (Rack) ในการก่อสร้างตัวอาคารจัดเก็บ เป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บจากพื้นที่ที่มีให้ได้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วการก่อสร้างอาคารจัดเก็บ จะเริ่มจากการออกแบบอาคารภายนอกก่อน แล้วจึงจัดวาง Layout ของชั้นวางสินค้า (Rack) เป็นการออกแบบแบบ Outside-In ทำให้หลายๆอาคารมีปัญหาเสาอาคารกีดขวางทางรถวิ่งบ้าง หรือชั้นวางไม่ลงตามช่องเสาบ้าง

แนวคิดการทำ Rack Supported Building (RSB) จะสวนทางกับการก่อสร้างอาคารทั่วไป เริ่มสร้างจาก Inside-Out คือเริ่มจากการติดตั้งชั้นวาง (Rack) ในพื้นที่ที่ต้องการสร้างอาคาร เพื่อใช้โครงสร้างของชั้นวาง (Rack) เป็นตัวรับน้ำหนักอาคาร แทนการใช้เสาอาคารที่มีขนาดใหญ่อย่างที่หลายๆอาคารจัดเก็บใช้กัน

การก่อสร้าง Rack Supported Building (RSB) และออกแบบโครงสร้างชั้นวาง (Rack) ภายในนั้นจะต้อง:
  1. สำรวจหน้าดิน (Soil Test) เพื่อนำมาใช้คำนวณค่าการรับน้ำหนักทั้งหมดของอาคารรวมถึงน้ำหนักสินค้าที่จะถ่ายลงมาที่พื้น (*การก่อสร้าง Rack Supported Building จะต้องทำ Slab on Pile เท่านั้น เนื่องจากชั้นวางสินค้าเป็นตัวรั้งโครงสร้างอาคารทั้งหมด จึงเป็นอันตรายหากมีกรณีพื้นอาคารทรุดตัว)
  2. คำนวณค่าแรงลม (Wind Load) ที่เข้ากระทำต่อโครงสร้างอาคารตามหลักวิศวกรรมการก่อสร้าง
 
 

โครงสร้าง Rack Supported Building (RSB) โดยพื้นฐานจะประกอบไปด้วย:
  1. โครงสร้าง Truss หลังคา
  2. หลังคา Metal Sheet
  3. ฉนวนกันความร้อน
  4. แป (Purin) - เพื่อยึดหลังคา Metal Sheet
  5. เสา (Rack Post) - เพื่อรับน้ำหนักโครงสร้างอาคาร
  6. คาน (Beam) - เพื่อการจัดเก็บสินค้า
 
 
   
ข้อดีของ Rack Supported Building (RSB):
  1. ใช้พื้นที่แนวสูงได้เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากโครงสร้าง Truss หลังคาของ Rack Supported Building (RSB) ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับโครงสร้างอาคารทั่วไป เพราะมีการใช้เสาชั้นวางสินค้า (Rack Post) แทนเสาอาคาร ทำให้ระยะความถี่เสามีมากกว่า โครงสร้างจึงมีความแข็งแรงต่อแรงลม (Wind Load)
  2. ลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาการก่อสร้างอาคารกว่า 20-40% (ขึ้นอยู่กับขนาดและความสูงของพื้นที่)
บทความ อื่นๆ