Pallet Flow Racking Systems VS. Shuttle Racking Systems | เปรียบเทียบการทำงานแบบ First-In, First-Out (FIFO)
หลายๆคนคงคุ้นเคยกับชื่อ Pallet Flow Racking Systems กันมาบ้างแล้ว ลักษณะของ Rack ชนิดนี้คือการผนวกชั้นวาง (Rack) เข้ากับกับล้อเลื่อน (Roller) และใช้แรงโน้มถ่วง (Gravity) ในการขับเคลื่อนสินค้าจากด้านจัดเก็บ (Loading) ไปยังอีกด้านที่เป็นด้านนำออก (Unloading) ด้วยลักษณะการทำงานแบบนี้ในอุตสาหกรรมจึงนิยมเรียก Rack ประเภทนี้ว่า Gravity Flow Racking Systems
ในอีกด้าน Shuttle Racking Systems เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่งก้าวสู่อุตสาหกรรมได้ไม่นานนักเมื่อเปรียบเทียบกับ Pallet Flow Racking Systems โดยชื่อในอุตสาหกรรมก็มีหลากหลายไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น Pallet Shuttle Racking Systems หรือ Radio Shuttle Racking Systems ซึ่งในภาพรวมการทำงานนั้นเป็นลักษณะเดียวกัน
![]() (รูป 1 - Pallet Flow Racking Systems' Side View)
|
![]() (รูป 2 - Shuttle Racking Systems' Side View)
|
นอกจากราคาต่อพาเลท (Pallet) ของ Pallet Flow Racking Systems ที่สูงกว่า Shuttle Racking Systems แล้ว ข้อจำกัดที่ต้องสร้างองศาให้เกิดการลาดเอียงก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ Pallet Flow Racking Systems ไม่เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมซักเท่าไหร่นัก ลองคิดตามกันเล่นๆ หากต้องการจัดเก็บสินค้าทั้งหมดด้วยความลึกที่ 40 เมตร ด้านจัดเก็บ (Loading) ของ Pallet Flow Racking จำเป็นต้องยกขึ้นสูงกว่า 1.5 เมตร ในขณะที่ Shuttle Racking Systems สามารถสร้างในแนวระนาบพื้นแบบ Rack ทั่วไปได้เลย
เช่นเดียวกันหากเป็นอุตสาหกรรมที่มี Thoughput สูงมากๆ การมี Waiting Time มากเกินไปอาจจะไม่ตอบโจทย์ จากตัวอย่างเเดียวกัน หากต้องการจัดเก็บสินค้าทั้งหมดด้วยความลึกที่ 40 เมตร Shuttle Racking Systems ยังคงมี Waiting Time เพื่อรอ Shuttle Cart วิ่งไปจัดเก็บและมารอสินค้าลำดับถัดไป ซึ่งอัตราวิ่งของ Shuttle Cart อยู่ที่ประมาณ 0.8 เมตร/ 1 วินาที โดยวิ่งไปเข้าไปจัดเก็บ 40 เมตร และต้องวิ่งกลับมาเพื่อรอรับสินค้าถัดไปอีก 40 เมตร Waiting Time คร่าวๆจะอยู่ที่ประมาณ 1 - 1.30 นาที ในขณะที่ Pallet Flow Racking Systems นั้นจะมี Waiting Times ค่อนข้างน้อยกว่า